แบบสอบถามความสนใจและความคิดเห็นของแรงงานนอกระบบ
คำชี้แจง : แบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสนใจและความคิดเห็นของแรงงานนอกระบบ ซึ่งผลการประเมินและข้อเสนอแนะที่ได้จากแบบสอบถามนี้จะถูกนำไปประมวลผลในภาพรวม เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
จึงขอความร่วมมือจากทุกท่านให้ความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถามดังกล่าวนี้ จะขอบคุณยิ่ง
จึงขอความร่วมมือจากทุกท่านให้ความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถามดังกล่าวนี้ จะขอบคุณยิ่ง
แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 ความสนใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองผู้ประกันตนมาตรา 40
ส่วนที่ 2 ความสนใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองผู้ประกันตนมาตรา 40
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
1. แรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงานเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ (สำนักงานประกันสังคม)
2. ประกันสังคมมาตรา 40 หมายถึง ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 มาตรา 40 กำหนดให้สิทธิประโยชน์กับแรงงานที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจได้นั้น ต้องประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร รวมไปถึงพนักงานอิสระต่างๆ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
3. สิทธิประโยชน์ หมายถึง ประโยชน์ที่ได้ตามสิทธิ คือสิ่งที่เป็นผลดีที่บุคคลใด ๆ พึงจะได้รับตามที่ระบุไว้ในกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา)
2. ประกันสังคมมาตรา 40 หมายถึง ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 มาตรา 40 กำหนดให้สิทธิประโยชน์กับแรงงานที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจได้นั้น ต้องประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร รวมไปถึงพนักงานอิสระต่างๆ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
3. สิทธิประโยชน์ หมายถึง ประโยชน์ที่ได้ตามสิทธิ คือสิ่งที่เป็นผลดีที่บุคคลใด ๆ พึงจะได้รับตามที่ระบุไว้ในกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา)
คำอธิบาย
ปัจจุบันผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้รับสิทธิประโยชน์ใน 3 ทางเลือกตามที่สนใจสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40
– ทางเลือกที่ 1 หมายถึง ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นจ่ายสมทบ 100 บาท รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ และเงินค่าทำศพ
– ทางเลือกที่ 2 หมายถึง ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ และเงินบำเหน็จชราภาพ
– ทางเลือกที่ 3 หมายถึง ผู้ประกันตนจ่าย 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ เงินบำเหน็จชราภาพ และเงินสงเคราะห์บุตร
(ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม)
– ทางเลือกที่ 1 หมายถึง ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นจ่ายสมทบ 100 บาท รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ และเงินค่าทำศพ
– ทางเลือกที่ 2 หมายถึง ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ และเงินบำเหน็จชราภาพ
– ทางเลือกที่ 3 หมายถึง ผู้ประกันตนจ่าย 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ เงินบำเหน็จชราภาพ และเงินสงเคราะห์บุตร
(ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม)
รบกวนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ตอบแบบสอบถามตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ